ทำไมต้องเรียก-LGBTQ
มาเริ่มรู้จักสังคมที่มีคำว่าหลากหลายทางเพศมาเป็นตัวกำหนดหรือที่เรียกและรู้จักกันโดยทั่วไปว่า LGBTQ โดยทางองค์การอนามัยโลกได้มีการจัดประเภทของ

มาเริ่มรู้จักสังคมที่มีคำว่าหลากหลายทางเพศมาเป็นตัวกำหนดหรือที่เรียกและรู้จักกันโดยทั่วไปว่า LGBTQ โดยทางองค์การอนามัยโลกได้มีการจัดประเภทของคำจำกัดความล่าสุดของความหมายนี้และทางตัวแทนได้มีการกล่าวว่า ให้สภาพไม่มีความสอดคล้องกับเพศโดยกำเนิด จึงทำให้ไม่ใช่ความผิดปกติทางจิตหรือพฤติกรรมแต่จะไปอยู่ในหมวดของ ความหลากหลายทางเพศ โดยตัวเลือกของเจ้าตัวเอง เพราะฉะนั้นจึงไม่มีคำจำกัดความที่สามารถเข้ามาช่วยในการอธิบายถึงความหมายของ LGBTQ ได้อย่างชัดเจน ผู้หญิงที่ชอบผู้ชายแต่ต้องเป็นผู้ชายที่อยู่ในสภาพผู้หญิงเท่านั้น หรือผู้ชายที่ชอบแต่งหญิงสามารถชอบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง การใช้คำว่า LGBTQ จึงดูจะเป็นคำจำกัดความที่ดีที่สุด

ความหมายของ LGBTQ

สำหรับความหมายโดยตรงของคำว่า LGBTQ สามารถแยกออกได้เป็นตัวต่อตัวตามนี้

  • L = Lesbian เลสเบี้ยน หรือที่รู้จักกันว่ากลุ่มผู้หญิงรักผู้หญิง
  • G = Gay กลุ่มชายรักชาย
  • B = Bisexual เป็นกลุ่มรักคนข้ามเพศที่สามารถชอบได้ทั้งหญิงและชาย
  • T = Transgender กลุ่มผู้รักคนข้ามเพศ ชายเปลี่ยนเป็นหญิง หรือหญิงเปลี่ยนเป็นชาย
  • Q = Queer คือกลุ่มที่สามารถพึงพอใจต่อเพศใดเพศหนึ่งโดยไม่มีเรื่องเพศมาเป็นคำจำกัดความ

และนอกจากจะแบ่งได้ตามตัวอักษรย่อเหล่านี้แล้วยังสามารถแบ่งได้อีกสองวิธีใหญ่ ๆ  ซึ่งแสดงถึงอัตลักษณ์ทางเพศและช่วยอธิบายความหมายของคำว่าเพศวิถีได้ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

เพศวิถี เป็นความหมายที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกและรสนิยมทางเพศ ที่มีต่อบุคคลอื่นโดยไม่มีคำจำกัดความทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่

  • รักต่างเพศ
  • รักเพศเดียวกัน
  • รักชายที่เปลี่ยนเป็นหญิง หรือหญิงที่เปลี่ยนเป็นชาย
  • เพศไม่มีความหมายขอเพียงแค่รัก

อัตลักษณ์ทางเพศ คือการรับรู้ทางเพศของตนเองว่าตนเองอยากเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ซึ่งบางคนก็มีอัตลักษณ์ทางเพศที่ตรงกับเพศสภาพและบางคนก็อาจจะมีอัตลักษณ์ทางเพศที่ตรงกันข้ามกับเพศสภาพ ซึ่งในกลุ่มคนเหล่านี้สามารถชอบเพศใดเพศหนึ่งได้ หรือชอบคนได้หลากหลายประเภทไม่มี เพศสภาพเข้ามาเกี่ยวข้องมีแต่ความรักและความรู้สึกต่ออีกหนึ่งบุคคลเท่านั้น

การที่คุณเป็น LGBTQ ถือเป็นความผิดปกติทางจิตหรือไม่?

ความคิดสมัยก่อนและต้องยอมรับว่าสำหรับบางคนสมัยนี้ก็ยังมีความคิดที่ว่าการเป็นบุคคลข้ามเพศถือเป็นเรื่องที่ ไม่ได้รับการยอมรับในทางสังคม และเรียกได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต โดยส่วนใหญ่แล้วความคิดเหล่านี้จะถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมและกรอบทางสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง เป็นบรรทัดฐานในการเลือกปฏิบัติของบุคคลที่อยู่ในสมัยก่อนเท่านั้นซึ่งมีความเชื่อในเรื่องของศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

จากการศึกษาของทางจิตแพทย์ได้ระบุว่าไม่ว่าคุณจะเกิดมาเป็นเพศไหนหรือมีเพศสภาพแบบไหนการมีบุคลิกและท่าทางที่แสดงออกตรงกันข้ามกับเพศสภาพของคุณนั้นไม่ถือเป็นการผิดปกติทางจิตแต่อย่างไร และการที่คุณชอบเพศใดเพศหนึ่งอาจจะเป็นเพศเดียวกันหรือเพศตรงข้าม ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชอบไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีในสมองที่ระบุว่าคุณมีความผิดปกติถึงได้มีความชอบแบบนี้แต่อย่างใด

แนวทางการปฏิบัติ ต่อคนในครอบครัวที่เป็น LGBTQ

ถึงแม้ในปัจจุบันนี้การเป็น LGBTQ จะได้รับความยอมรับทางสังคมในวงกว้างและดูเหมือนว่าจะไม่เป็นปัญหาในการใช้ชีวิตแล้วในปัจจุบันเท่ากับเมื่อก่อน แต่หากคุณเป็นผู้ใหญ่ที่อยู่ในบ้านและมีลูกหลานที่เป็น LGBTQ เราจึงอยากแนะนำวิธีที่จะสามารถทำให้คุณสามารถเรียนรู้คนเหล่านั้นเพื่อให้ไม่เกิดความกดดันจากครอบครัวจนเกินไป

  • อย่าเปรียบเทียบลูกหลานของคุณกับใครแต่ให้ส่งเสริมและสอนให้รู้คุณค่าในตัวเอง
  • สร้างการสื่อสารในเชิงบวกหมั่นพูดคุยและปรับความเข้าใจในสิ่งที่คุณอาจจะไม่เข้าใจและแน่นอนว่าคุณต้องเปิดใจให้กับเรื่องราวเหล่านั้นด้วย
  • ปฏิบัติกับพวกเขาเหมือนพวกเขาเป็นลูกหลานปกติไม่จำเป็นต้องทำให้ตัวเขารู้สึกแปลกแยกภายในครอบครัว
  • สังเกตพฤติกรรมโดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นของเพศที่สามที่จะมีการเปลี่ยนแปลงและสามารถสังเกตได้ว่าเค้าอาจจะรู้สึกแปลกแยกจากสังคมหรือรู้สึกซึมเศร้าอาจเกิดการใช้ความรุนแรง หรือมีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นได้

บทสรุป LGBTQ ในยุคปัจจุบัน

ปัญหา การเหยียดหรือการไม่ยอมรับในสังคมของเหล่าบุคคลที่เรียกตัวเองว่า LGBTQ นั้นเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบันแล้วแต่อย่างไรก็ตามการปฏิบัติต่อคนในครอบครัวที่เป็น LGBTQ ถือว่ามีความสำคัญในการเจริญเติบโตของตัวบุคคลเป็นอย่างมาก เพื่อให้ตัวบุคคลนั้นไม่รู้สึกว่าตัวเองแตกต่างและเกิดสภาวะซึมเศร้าขึ้นตามมาในภายหลังนั่นเอง